วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


Recorded Diary 16

Friday 22   November  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock





  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้คือวันสุดท้ายของการเรียนการสอน ซึ่งอาจารย์ก็บอกแนวข้อสอบว่าออกอะไรบ้าง



Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละจดเเนวข้อสอบ
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้เทคนิคในการอ่านสอบ





วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


Recorded Diary 14


Friday  8  November  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock






  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

อาจารย์ให้หาเพลงภาษาอังกฤษและนำมาร้องลงบล็อค

เพลงที่ฉันเลือกคือ pretty girl







Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจร้องเพลง
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำเเละให้ออกเสียงชัดๆบางคำ





วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


Recorded Diary 13

Friday  1 November  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้เรียนที่สำนักวิทยบริการ (ห้องสมุด) เป็นการเรียนรู้คำศัพท์จากภาพยนตร์ เรื่อง Fast8 เป็นการฟังสำเนียง บริบทของคำในสถานการณ์ต่างๆ และอาจารย์ให้หาคำคมของตนเองมาแและนำไปอัดลงบล็อค





คำคม







Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจดูหนังเเละฟังสำเนียง
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการมาดูหนัง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์พามาเรียนรู้นอกห้องเรียน





วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562


Recorded Diary 12

Friday  25  October  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock






  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

วันนี้อาจารย์ให้นำนิทานที่เตรียมมามาเล่าให้เพื่อนๆในห้องฟัง นิทานของฉันชื่อเรื่อง 

The lion and The mouse

รับชมวีดิโอ
ได้เลยค่ะ






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจอ่านนิทาน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำในการนำไปปรับแก้





วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562


Recorded Diary 11

Friday  18  October  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock



  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้เรียนเกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัยในหัวข้อ"หลักสูตรปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี"

(Eary Childhood Curiculum for Children form Three to Six Years of Age.) 


       หลักสูตรปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
                    หลักสูตรการศึกษษปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารฒณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล

      จุดมุ่งหมาย
                     หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มศักยภาพและมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี 
2. สุขภสพจิตดี มีสุทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม
3. มีทักษะชีวิต และปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นไก้อย่างมีความสุข
4. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

     มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี  กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย
1. พัฒนาการด้านร่างกาย   ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 1     ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
     มาตรฐานที่ 2     กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ   ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 3     มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
     มาตรฐานที่ 4     ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
     มาตรฐานที่ 5     มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจมี่ดีงาม
3. พัฒนาการด้านสังคม   ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 6     มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     มาตรฐานที่ 7     รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
     มาตรฐานที่ 8     อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฎิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
                            ประชาธิปไตย  อันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา   ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 9     ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
     มาตรฐานที่ 10    มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
     มาตรฐานที่ 11    มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
     มาตรฐานที่ 12    มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรุ้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย


        หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เพราะว่าจะแยกให้เป็นทั้ง 4 หัวข้อ คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
กลุ่ม ด้านร่างกาย (Physical Development)

    Standard 1 (มาตรฐานที่ 1) ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยมีสุขนิสัยที่ดี
      คำศัพท์   Fat อ้วน / Slim สมส่วน / Thin ผอม / Tall สูง / Short เดี๋ย / Small เล็ก 

   Standard 2 (มาตรฐานที่ 2) กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่มีการพัฒนาที่ดีมีความสัมพันธ์กันและเกิดความคล่องแคล่ว 
     คำศัพท์   Walk เดิน / Turn Face หันหน้า / Dance เต้น / Jump กระโดด / Run วิ่ง / Crawl คลาน






กลุ่ม ด้านอารมณ์-จิตใจ (Emotional Development)

      Standard 3 (มาตรฐานที่ 3) มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
          คำศัพท์   Laugh หัวเราะ / Happy มีความสุข

      Standard 4 (มาตรฐานที่ 4) การแสดงออกทางอารมณ์ผ่านศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว
         คำศัพท์   Sensitive อ่อนไหว / Angry โกรธ / Cry ร้องไห้

      Standard 5 (มาตรฐานที่ 5) มีคุณธรรมจริยธรรมจิตใจที่ดีงาม
         คำศัพท์   Pleased ยินดี Enthusiastic กระตือรือร้น


กลุ่ม ด้านสังคม (Social Developmeat)

      Standard 6 (มาตรฐานที่ 6) มีทักษะชีวิตปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
        คำศัพท์   Sufficiency ความพอเพียง / Rights สิทธิ / Responsibility ความรับผิดชอบ

      Standard 7 (มาตรฐานที่ 7) รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          คำศัพท์   Environment สิ่งแวดล้อม / Ethics จริยธรรม / Moral คุณธรรม / Culture

     Standard 8 (มาตรฐานที่ 8) เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นสมาชิกที่ที่ของสังคมภายใต้ระบอบการปกครองของรัฐธรรมนูญ
          คำศัพท์   Community ชุมชน | Citizen สังคม / Human relations มนุษยสัมพันธ์ | Respect Democracy ประชาธิปไตย







กลุ่ม ด้านสติปัญญา (Cognitive Development)

      Standard (มาตรฐานที่ 9) การใช้ภาษาสื่อสารเหมาะสมกับวัย
          คำศัพท์   Language ภาษา / Communication การสื่อสาร

      Standard 10 (มาตรฐานที่ 10 ) มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
          คำศัพท์   Thinking การคิด Reading and Writing การอ่านและการเขียน

       Standard (มาตรฐานที่ 11) มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
          คำศัพท์   Imagination จินตนาการ / Demonstrated การสาธิต

      Standard 12 (มาตรฐานที่ 12) มีเจตคติทางบวกในการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้
          คำศัพท์   Learning เรียนรู้ / New knowledge ความรู้ใหม่



Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจเรียน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดี






วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562


Recorded Diary 10

Friday  11  October  2019
Time 12:30 - 15:30 o'clock






  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้อาจารย์แจกหนังสือหลักสูตรปฐมวัย(ฉบับภาษาอังกฤษ) นักศึกษาและอาจารย์ได้ช่วยกันแปลและหาความหมายของคำ ซึ่งมีเนื้อความดังต่อไปนี้



       ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

                การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และคสามเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป๋นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

       วิสัยทัศน์

                   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องไได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมกับวัย มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคนดีมีวินัย  และสำนึกความเป็นไทยโดยร่วมมือระหว่างสถานศึกษาพ่อแม่ ครอบครัวชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


          หลักการ

                      ตามด้วยอนุสัญญาที่ว่าด้วยสิทธิเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม  ด้วยปฎิสัมพัธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้สอน เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม  มีคุณภาพและเต็มศักยภาพ โดยได้แบ่งออกเป็น  5  หลักการดังต่อไไปนี้

        1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
        2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
        3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนเหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนที่เพียงพอ
        4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข
        5.  สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย






ก่อนที่จะออกห้องเรียน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาพูดคำคมมาคนละ 1 ประโยค


 Never give up. Everything takes time. You will get there
อย่ายอมแพ้เพราะทุกอย่างใช้เวลาแล้วเราจะไปถึงจุดๆนั้นเอง



 Love is letting go of fear.
ความรักคือการทิ้งความกลัวไป



 Friendship often ends in love; but love in friendship – never.
 มิตรภาพมักจะจบลงด้วยความรัก แต่ความรักไม่มีวันจบลงด้วยมิตรภาพ



 All you need is love
 สิ่งเดียวที่เราต้องการคือความรัก



 True love begins when nothing is looked for in return.
 รักแท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากอีกฝ่าย



 Sometimes removing some people out of your life makes room for better people.
 บางครั้งการลบใครบางคนออกไปจากชีวิต ก็ทำให้เรามีที่ว่างสำหรับคนที่ดีกว่า








Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังอาจารย์
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนและไม่คุย
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดี